ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
ตำบลประกอบ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ห่างจากตัวอำเภอนาทวี (ตามเส้นทางสายนาทวี – ประกอบ) 30 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสงขลา (ตามเส้นทางสายสงขลา – จะนะ – นาทวี) ประมาณ 82 กิโลเมตร
เนื้อที่และอาณาเขต มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 94.10 ตร.กม. หรือ ประมาณ 58,812.50 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับตำบลสะท้อน  ตำบลทับช้าง  อำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา
ทิศใต้
ติดต่อกับปาดังเตอรับ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับตำบลสะท้อน  อำเภอนาทวี  และอำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
แนวทางเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 28/27 – หลักเขตแดนที่ 33 ระยะทางความยาวตามแนวชายแดนประมาณ 23 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณหลักเขตแดนที่ 28/27 – หลักเขตแดนที่ 30 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา ป่าสลับภูเขาและป่าทึบ บริเวณหลักเขตแดนที่ 31-33 ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา ,สวนผลไม้ แยกได้ดังนี้
- หลักเขตแดนที่ 28/27
บ้านเกาะไม้ใหญ่ หมู่ที่ 7 ต.ประกอบ
- หลักเขตแดนที่ 29
บ้านใหม่ หมู่ที่ 6 ต.ประกอบ
- หลักเขตแดนที่ 30
บ้านป่ากัน หมู่ที่ 1 ต.ประกอบ
- หลักเขตแดนที่ 31
บ้านประกอบออก หมู่ที่ 3 ต.ประกอบ
- หลักเขตแดนที่ 32-33
บ้านทุ่งเปรียง หมู่ที่ 4 ต.ประกอบ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลประกอบมีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบสูงส่วนใหญ่ มีภูเขาล้อมรอบ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

ที่ราบ สภาพพื้นที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นที่ระหว่างเนินเขาเตี้ยๆ จะเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน , ปลูกไม้ผล, ยางพารา ที่ราบดังกล่าวจะกระจายทั่วไปทั้งตำบลมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ หมู่ที่ 1,หมู่ที่ 2 , หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 25 % ของพื้นที่ทั้งหมด

ที่ราบลุ่ม จะกระจายทั่วไปเกือบทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ลำคลองและลำห้วยต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด

ที่เนินสูง สภาพพื้นที่เนินสูง ซึ่งมีความลาดชัน 3 – 8 องศา เป็นสภาพพื้นที่เนินสูงหรือภูเขาเตี้ยๆ จะกระจายอยู่ทั่วไปทุกหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม เป็นช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จะเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลทำให้จังหวัดมีฤดูกาล 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมซึ่งจะเป็นช่วงหลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม

1.4 ลักษณะของดิน
ตำบลประกอบ ลักษณะของดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย และดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวบางส่วน เหมาะสำหรับทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และปศุสัตว์

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
1.5.1 มี 1 สาย คือ คลองเกาะไม้ใหญ่ ต้นน้ำเกิดจากควนสิเหรง ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลประกอบ และไหลผ่านตำบลทับช้าง , ตำบลสะท้อน ท่าประดู่ , นาทวี, ฉาง และไหลลงทะเลสาบที่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีน้ำตลอดปี

1.5.2  มี สระน้ำสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง คือ สระน้ำสาธารณะบ้านโครง หมู่ที่ 2

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
พื้นที่ป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบชื้น มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นอุดมสมบูรณ์ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ หลุมพอ ตะเคียน กระบากดำ ยาง จำปา สยาแดง ไข่เขียว เปรียงขานาง แต้ว มังคะ พิกุลป่า มะม่วงป่า เป็นต้น และมีพืชพื้นล่างได้แก่ หวาย ไผ่ ระกำ กล้วยไม้ เฟิน มอส เป็นต้น 

ประวัติ
แต่เดิมเกิดจากการที่ชาวบ้านในสมัยก่อนได้มีการล่ากระทิง จนกระทั่งกระทิงตาย และชาวบ้านได้มาพบกระดูกของกระทิง จึงกอบนำมารวมกัน แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านประกอบ”
ที่ตั้ง
ตำบลประกอบ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ห่างจากตัวอำเภอนาทวี (ตามเส้นทางสายนาทวี – ประกอบ) 30 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสงขลา (ตามเส้นทางสายสงขลา – จะนะ – นาทวี) ประมาณ 82 กิโลเมตร

เนื้อที่และอาณาเขต
มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 94.10 ตร.กม. หรือ ประมาณ 58,812.50 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับตำบลสะท้อน  ตำบลทับช้าง  อำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา
ทิศใต้
ติดต่อกับปาดังเตอรับ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับตำบลสะท้อน  อำเภอนาทวี  และอำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
พันธกิจ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความสะดวกของชาวตำบลประกอบ
2. ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สุขอนามัยที่ดีขึ้น ร่างกายแข็งแรง
3. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. พัฒนาด้านสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการยึดเหนี่ยวจิตใจ
6. บริหารจัดการองค์กรอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้